ประวัติความเป็นมาของวัด ของ วัดอ่างแก้ว (กรุงเทพมหานคร)

วัดอ่างแก้วเป็นวัดโบราณ บางตำรากล่าวว่ามีครั้งกรุงศรีอยุธยา แล้วมาทำการบูรณะขึ้นอีกทีในสมัยรัชกาลที่ 3 บางตำราว่าสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2419 ตั้งแต่ได้ขุดคลองภาษีเจริญได้ 8 ปี โดยท่านเจ้าคุณพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) ซึ่งแต่เดิมท่าได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโคนอน ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากวัดอ่างแก้วนี้นัก ได้บอกบุญแก่ชาวบ้านให้ซื้อที่ดินและสัมภาระในการสร้างวัดนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีของท่าน เมื่อครั้งหลังการสร้างวัดต่อมาได้มีผู้มีจิตศรัทธาในสมัยนั้นบริจาคเรือนไทยไม้สักให้อีกหลายหลัง (ในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่หลายหลัง) เมื่อไดจัดการเรียบร้อยแล้วจึงให้พระภิกษุที่เป็นสัทธิวิหาริกของท่านจำนวน 5 รูป มาอยู่จำพรรษา และแต่งตั้งให้พระอธิการเบี้ยว อิน.ทสุวณ.โณ เป็นเจ้าอาวาส การสร้างอุโบสถได้กระทำการสร้างต่อมา และเสร็จเรียบร้อยเมื่อปีฉลู พ.ศ. 2420 และได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมาในปีเดียวกัน วัดอ่างแก้วนี้จึงมี เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 19.25 เมตร ยาว 30.72 เมตร พร้อมทั้งทำการผูกพัทธสีมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2421

เกี่ยวกับชื่อวัดเดิมที่มีประวัติว่าทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบริเวณที่สร้างอุโบสถ เดิมทีที่ดินมีลักษณะเป็นอ่างน้ำใสขังอยู่ ท่านเจ้าคุณพระภาวนา

โกศลจึงถือเอาลักษณะที่ดินแห่งนั้น มาตั้งเป็นนามวัดว่า “วัดอ่างแก้ว” และไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

หลวงปู่บุญมี พรหมโชติโก (6 ธันวาคม 2432 - 15 ธันวาคม 2524) อุปสมบท 1 มิถุนายน 2452ประวัติทางการศึกษาของวัดในสมัยโบราณแต่เดิมมา วัดอ่างแก้วได้สนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมจากสำนักเรียนต่าง ๆ ได้ตามอัธยาศัยเพื่อสำหรับการศึกษาของชาติ ด้วยความต้องการของบุตรหลานของประชาชนในย่านบางหว้า ได้มีโรงเรียนที่จะทำให้ให้บุตรหลานได้มีโอกาสเรียนหนังสือ มีความรู้ อ่านออกเขียนได้ในระดับประถมศึกษา จึงได้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนวัดอ่างแก้ว โดยในระยะแรกใช้ศาลาวัดเป็นที่ศึกษาเล่าเรียน ตั้งแต่ปี 2475 และต่อมาวัดได้ให้ที่ดินสร้างโรงเรียนประชาบาลภายในวัด (ซึ่งในปัจจุบันคือโรงเรียนอ่างแก้ว จีบ ปานขำ) พร้อมทั้งสิ่งเสริมการศึกษาของกุลบุตรกุลธิดาด้วย